วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

องุ่น





องุ่น เป็นพืชยืนต้น มีลักษณะเป็นไม้พุ่มเลื้อย เนื้อแข็งและมีลำต้นกิ่งถาวรอายุเกิน 1 ฤดู ถ้าปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติจะเลื้อยเกาะกิ่งไม้ ใบกลมขอบหยักเว้าลึก 5 พู โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ดอกออกเป็นช่อแยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียวมีหมวก จะหลุดออกเมื่อดอกบานกลีบดอกเมื่อบานสีขาว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 กลีบ เป็นผลเดี่ยวที่ออกเป็นพวง (เป็นผลเดี่ยวที่เกิดจากดอกช่อแต่ดอกไม่หลอมรวมกัน) ผลย่อยรูปกลมรีและฉ่ำน้ำ มีผิวนวลเกาะและรสหวาน มีสีเขียว, ม่วงแดงและม่วงดำแล้วแต่พันธุ์ ในผลมีเมล็ดประมาณ 1 - 4 เมล็ด

อ้างถึง องุ่น:





วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พันธุ์องุ่นที่นิยมปลูก



1.             พันธุ์ไวท์มะละกา มี 2 สายพันธุ์ คือ ชนิดผลกลมและผลยาว ลักษณะช่อใหญ่ยาว การติดผลดีผลมีสีเหลืองอมเขียว รสหวานแหลม เปลือกหนาและเหนียว ในผลหนึ่งๆ มี 1-2 เมล็ด ช่วงเวลาหลังจากตัดแต่งกิ่งจนเก็บผลได้ประมาณ 4 เดือนครึ่ง ปีหนึ่งให้ผลผลิต 2 ครั้ง ผลผลิตประมาณ 10-15 กิโลกรัม/ต้น/ครั้ง



2.             พันธุ์คาร์ดินัล มีลักษณะช่อใหญ่ ผลดก ผลกลมค่อนข้างใหญ่ มีสีแดงหรือม่วงชมภู รสหวาน กรอบ เปลือกบาง จึงทำให้ผลแตกง่ายเมื่อผลแก่ในช่วงฝนตกชุก ในผลหนึ่งๆ มีเมล็ด 1-2เมล็ด ช่วงเวลาหลังจากตัดแต่งกิ่งจนเก็บผลได้ใช้เวลา 3-3 เดือนครึ่ง ในเวลา 2 ปี สามารถให้ผลผลิตได้ถึง 5 ครั้ง ผลผลิตประมาณ 10-15 ตัน/ต้น




3.       พันธุ์ชีราส หรือ ซายร่า (Shiraz or Syrah) เป็นองุ่นที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนอย่างเมืองไทยให้ผลผลิตต่อไร่สูง(1ตันต่อไร่ โดยประมาณ) และมีคุณภาพเมื่อนำมาผลิตเป็นไวน์จะได้ไวน์แดงที่มีน้ำหนักค่อนข้างเต็มเข้มข้น





4.     พันธุ์โคลอมบาด (Colombard) เป็นสายพันธุ์องุ่นขาวที่นำเข้าจากฝรั่งเศสซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ดีในเมืองไทย เดิมทีเป็นพันธุ์องุ่นที่ใช้หมักไวน์เพื่อนำมากลั่นเป็นเหล้าคอนยัคเพราะ เป็นองุ่นที่มีปริมาณกรดที่ค่อนข้างสูง เมื่อนำมาปลูกในเมืองไทยด้วยสภาพอากาศที่ร้อนทำให้องุ่นสุกจัด ปริมาณกรดจึงไม่มากเท่าที่ปลูกในเมืองหนาว ทำให้เหมาะกับการนำมาทำไวน์ ไวน์ที่ผลิตจากองุ่นชนิดนี้จะมีรสชาติที่สดชื่น     

                                      





อ้างถึง พันธุ์องุ่นที่นิยมปลูก :

บำรุงสุขภาพด้วยองุ่น

บำรุงสุขภาพด้วยองุ่น

             ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ค้นพบข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับองุ่นซึ่งดีต่อสุขภาพหลายประการ โดยงานวิจัยส่วนมากเน้นไปที่ประโยชน์ของสารไฟโตนิวเทรียนท์ ในองุ่นที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ
จากการวิจัยเกี่ยวกับองุ่นสดในช่วงที่ผ่านมา มีความคืบหน้าดังนี้

1.             องุ่นอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ (แอนตี้ออกซิเดนท์) องุ่นทุกสีล้วนเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งสารในกลุ่ม โพลีฟีนอล  ฟลาโวนอยด์ และเป็นแหล่งของสารเรสเวอราทรอล  สารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้เป็นสารตามธรรมชาติในการป้องกันการเสื่อมสลายของเซลล์ อาจจะฟังดูเป็นเรื่องวิชาการ แต่อันที่จริงแล้ว กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อเรารับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระมาก เช่นองุ่น เมื่ออนุมูลอิสระแยกตัวออกมา จะเกิดกระบวนการที่เรียกว่า "ออกซิเดทีฟ เสตรส  (oxidative stress)"  ซึ่งเป็นกระบวนการทำลายเซลล์ด้วยการถ่ายเท
ประจุไฟฟ้าที่มีความเกี่ยวพันกับโรคเรื้อรังหลายโรค รวมทั้งภาวะสูงวัยด้วย
2.             สารเรสเวอราทรอลในองุ่นเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มหัศจรรย์. องุ่นเป็นแหล่งอาหารหลักที่มี สารไฟโตนิวเทรียนท์ยนท์ อยู่มากที่สุด ส่วนสารเรสเวอราทรอล จะอยู่ที่ผิวองุ่นและพบในองุ่นทั้งสามสี เรสเวอราทรอล การศึกษาจำนวนมากจัดให้สารเรสเวอราทรอล เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังมีคุณสมบัติเพื่อสุขภาพหลากหลายตั้งแต่ลดความเสี่ยงมะเร็งและอัลไซเมอร์
3.             สารเรสเวอราทรอลต้านมะเร็ง. การศึกษาจำนวนมากระบุถึงกระบวนการต้านมะเร็งที่เกิดจาก สารเรสเวอราทรอล  ว่าสามารถลดผลกระทบของโรคมะเร็งทั้งสามขั้น ได้แก่ มะเร็งขั้นเริ่มแรก ขั้นพัฒนา และขั้นลุกลาม และระยะสุดท้าย สารเรสเวอราทรอลไม่เพียงแต่พบในองุ่นเท่านั้น ยังรวมถึงที่พบในไวน์ก็มีความเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งทรวงอกด้วยเช่นกัน
4.             ถ้ารักหัวใจของคุณ จงรับประทานองุ่น การศึกษาพบว่าการรับประทานองุ่นหลายๆชนิดจะช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจ จากการไหลเวียนของโลหิตที่ดีขึ้น ทำให้หลอดเลือดหัวใจยืดหยุ่นและเสริมการทำงานของหลอดเลือด สารประกอบในองุ่นยังช่วยลดการรวมตัวกันของเกล็ดเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่การอุดตันได้
5.             ถ้าอยากลดคลอเลสเตอรอลประเภท LDL จงรับประทานองุ่นเพิ่มขึ้น. องุ่นยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือดหัวใจด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยลดคลอเลสเตอรอลประเภท LDL  ซึ่งถือเป็น คลอเลสเตอรอลที่ไม่ดีซึ่งเป็นตัวการของหลอดเลือดอุดตัน
6.             องุ่นกับความดันโลหิตสูง การศึกษาวิจัยในหนูทดลองที่เลี้ยงด้วยอาหารเค็มจัด จนความดันโลหิตสูง เมือเพิ่มองุ่นลงในอาหารหนูพบว่าระดับความดันโลหิตของพวกมันลดลง การทำงานของหัวใจดีขึ้น อาการอักเสบทั่วร่างกายลดลง สัตว์ทดลองเหล่านี้มีอาการของโรคหัวใจลดลงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทานองุ่น
7.             ตัวต้านไขมัน? บางครั้ง คุณอยากรับประทานอาหารที่ทำให้รู้สึกสดชื่น เช่น องุ่น หลังจากรับประทานอาหารมื้อหนักๆ ซึ่งอาจเกิดจากระบบการหมุนเวียนโลหิตของคุณส่งสัญญาณนั้นมา การทดลองนำร่องในมนุษย์แสดงให้เห็นว่าการรับประทานองุ่นร่วมกับอาหารที่มีไขมันสูงๆ จะช่วยป้องกันผลด้านลบจากการรับประทานอาหารมื้อดังกล่าวได้ อีกทั้งยังพบว่า ผู้ร่วมทดลองที่ไม่ได้รับประทานองุ่นร่วมกับอาหารในมื้อเดียวกันจะมีการหมุนเวียนโลหิตลดลงร้อยละ 50
8.             เสริมพลังลำไส้ การทดลองนำร่องในคนไข้ที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้จำนวนหนึ่ง ที่รับประทานองุ่นสองถ้วยครึ่งทุกวันเป็นเวลาสองสัปดาห์  แสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของเนื้องอกในลำไส้ลดลงถึงร้อยละ 47 อย่างไรก็ดีผลการทดลองดังกล่าว พบในส่วนของลำไส้ที่ปรกติ ไม่ใช่ส่วนที่เป็นมะเร็ง แต่ก็แสดงให้เห็นถึงคุณค่าแฝงขององุ่นต่อสุขภาพลำไส้ได้
9.             องุ่นเป็นอาหารสมอง การศึกษาเบื้องต้นพบว่า องุ่นมีแนวโน้มที่จะช่วยปกป้องเซลสมองด้วยฤทธิ์ต่อต้าน อนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ หรือด้วยการลดการทำงานของยีนบางประเภทที่เกี่ยวข้องกับโรคทางสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ และพาร์คินสัน    
10.      องุ่นบำรุงสายตา องุ่นประกอบด้วยสารลูติน (lutein) และซีแซนธิน (zeaxanthin) ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม คาร์โรตีนอยด์สองประเภทที่สำคัญต่อการรักษาสุขภาพดวงตาเมื่ออายุมากขึ้น
11.      องุ่นหรือสารระงับอาการปวดข้อกันแน่? เป็นคำถามที่ดี แล้วถ้าเป็นทั้งสองอย่างล่ะ?  จากการศึกษาในสัตว์ พบว่าองุ่นอุดมด้วยสารอาหารที่สามารถลดความเจ็บปวดจากการปวดข้อได้อย่างชัดเจน ขณะที่ยาบรรเทาปวดเมโลซิแคมกลับไม่มีผลใดต่ออาการปวด ที่น่าสนใจคือ เมื่อผสมผสานการรักษาด้วยการทานองุ่นและยาเมโลซิแคม กลับช่วยลดอาการปวดได้มากกว่าเมื่อเทียบกับการใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง
12.      ส่งเสริมสุขภาพคุณผู้ชาย อาการอวัยวะไม่แข็งตัวเป็นความกังวลของชายวัยกลางคนและชายสูงวัยส่วนใหญ่ การศึกษาในสัตว์จำนวนมากแสดงให้เห็นว่า การบริโภคองุ่นช่วยรักษาระบบการทำงานของกระเพาะปัสสาวะที่เกี่ยวเนื่องกับการแข็งตัวให้ดีขึ้น การรับประทานองุ่นเพิ่มเติมจะช่วยสร้างสารต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งมีความสำคัญในการรักษาความสมรถภาพการทำงานและกระเพาะปัสสาวะจากการอุดตันบางส่วน
13.      องุ่นความอร่อยที่เรียบง่าย องุ่นไม่มีไขมัน ปราศจากโซเดียม ทั้งยังมีโพแทสเซียม นี่ยังไม่รวมรสชาติที่อร่อย หาทานได้ง่าย และคงความสด กรอบ ไว้ได้นานกว่าผลไม้ใดๆ
14.       เด็กๆ ชอบองุ่น อย่าอ่านแต่ผลการวิจัยหรือเชื่อสัญชาตญาณของคุณ แต่ฟังคำพูดจากปากเด็กๆ แม่จ๋า ขอองุ่น”  ใช่แล้ว เด็กๆ ชอบองุ่น เพราะเห็นว่าเป็นของว่างที่มีความสุขในการรับประทานและ หวานอร่อย คุณก็อยากให้เด็กๆได้ทานผลไม้ชั้นเลิศมากกว่าอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ


อ้างถึง บำรุงสุขภาพด้วยองุ่น:

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม


ไร่องุ่นในประเทศไทย

องุ่นถึงแม้จะไม่ใช่พืชเขตร้อน แต่จากสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นอย่างประเทศไทย องุ่นสามารถเจริญเติบโตได้ดีจึงปลูกได้โดยทั่วไป ถ้าได้รับการตัดแต่งกิ่งก็สามารถออกดอกได้ดีเช่นเดียวกันกับองุ่นที่ปลูกในเขตหนาวสามารถให้ผลผลิตมากกว่า 1 ครั้งต่อปี และสามารถบังคับให้ผลองุ่นแก่ในฤดูใดของปีก็ได้ ในขณะที่องุ่นที่ปลูกในเขตหนาวให้ผลผลิตปีละครั้งและผลแก่ช่วงฤดูร้อนเท่านั้น แต่ควรระวังคือ ในสภาพดินฟ้าอากาศที่มีความชื้นสูงฝนตกชุกจะทำให้เกิดโรคระบาดอย่างรวดเร็วทำให้เสียหายแก่ใบ ต้น และผลองุ่นได้มาก จึงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัดโรคแมลงมากไม่คุ้มกับการลงทุน แต่ถ้าฝนตกในตอนผลแก่จะทำให้ผลแตก คุณภาพของผลไม่ดี ดังนั้นสภาพภูมิอากาศจึงเป็นตัวจำกัดเขตการปลูกองุ่น และลักษณะการใช้ประโยชน์ เช่น ในประเทศไทยสามารถปลูกองุ่นรับประทานผลสดได้ดี โดยเฉพาะองุ่นที่แก่ในฤดูร้อน และฤดูหนาว แต่การที่จะปลูกองุ่นสำหรับทำเหล้าองุ่นให้มีคุณภาพดีๆ ยังสู้องุ่นในแถบยุโรปไม่ได้ ซึ่งสภาพภูมิอากาศมีผลต่อคุณภาพของผลผลิตเป็นสำคัญ ส่วนการเจริญเติบโตของต้นไม่มีปัญหามากนัก นอกจากเขตที่มีอากาศร้อนจัดหรือหนาวจัดเกินไปต้นองุ่นอาจตายได้ จะเห็นว่าเขตปลูกองุ่นของโลกนั้นกว้างมาก สามารถปลูกได้ในพื้นที่สูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 6,000 ฟุต แต่แหล่งปลูกองุ่นที่มีคุณภาพดีมักอยู่ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 - 4,000 ฟุต

อ้างถึง สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม :
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การปลูกและการดูแลรักษา


การปลูกและการดูแลรักษา

การเตรียมพื้นที่
       การปลูกองุ่นแบ่งตามลักษณะพื้นที่ได้ 2 ลักษณะ คือ พื้นที่ลุ่มซึ่งน้ำท่วมถึงในฤดูน้ำมาก เช่น แถบที่ราบลุ่มแม่น้ำต่างๆ มักเป็นที่นาเก่า การปลูกองุ่นในที่แบบนี้จึงต้องยกร่องก่อน ส่วนอีกลักษณะหนึ่งคือการปลูกในพื้นที่ดอน ทีสูงน้ำท่วมไม่ถึง การเตรียมดินปลูกแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไป ดังนี้


การปลูกแบบยกร่อง

       เตรียมพื้นที่โดยการยกร่องให้แปลงมีขนาดกว้าง 6 เมตร ความยาวร่องแล้วแต่ขนาดของพื้นที่ ส่วนความสูงของร่องให้สังเกตจากปริมาณน้ำที่เคยท่วมสูงสุดโดยให้อยู่สูงกว่าแนวระดับน้ำท่วม 50 เซนติเมตร ขนาดร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร ก้นร่องน้ำกว้าง 0.5-0.7 เมตร การปลูกควรปลูกแถวเดียวตรงกลางแปลง เว้นระยะระหว่างหลุมให้ห่างกัน 3-3.50 เมตร




การปลูกในที่ดอน

        ควรไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืชและทำให้ดินร่วนซุย ใช้ระยะปลูก 3x4-3.50x5 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน





วิธีการปลูก
1. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาว และลึก ประมาณ 50 เซนติเมตร
2. ผสมดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยฟอสเฟต เข้าด้วยกันในหลุมให้สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
3. ยกถุงกล้าต้นองุ่นวางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
4. ใช้มีดที่คมกรีดถึงจากก้นขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
5. ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
6. กลบดินที่เหลือลงไปในหลุม
7. กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
8. ป้กไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมพัดโยก
9. หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
10. รดน้ำให้โชก
11. ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด


การทำค้าง
          การทำค้างจะทำหลังจากที่ปลูกองุ่นแล้วประมาณ 1 ปี ซึ่งต้นองุ่นจะสูงพอดีที่จะขึ้นค้างได้ ค้างต้นองุ่นมีหลายแบบด้วยกันแต่แบบที่นิยมกันมากคือ ค้างแบบเสาคู่แล้วใช้ลวดขึง มีวิธีการและขั้นตอน ดังนี้
การเลือกเสาค้าง เสาค้างอาจใช้เสาซีเมนต์หน้า3 นิ้ว หรือ 4 นิ้วก็ได้ เสาค้างซีเมนต์จะแข็งแรงทนทานอยู่ได้นานหลายปี แต่มีราคาแพงและหนัก เวลาทำค้างต้องเสียแรงงงานมาก ถ้าใช้เสาไม้ให้ใช้ไม้เนื้อแข็งขนาดหน้า 2x3 นิ้ว หรือหน้า 2x4 นิ้ว หรือเสากลมก็ได้ เสาควรยาวประมาณ 2.5-3 เมตร หรือยาวกว่านี้ ซึ่งเมื่อปักลงดินเรียบร้อยแล้ว ให้เหลือส่วนที่อยู่เหนือดินประมาณ 1.50 เมตร
การปักเสา ให้ปักเป็นคู่ 2 ข้างของแปลงในแนวเดียวกัน โดยให้เสาห่างกัน 2 เมตร และเมื่อติดคานแล้ว ให้เหลือหัวไม้ยื่นออกไปทั้งสองข้างๆ ละ 50 เซนติเมตร (ดังภาพแบบที่ 1) ถ้าปักเสาห่างกัน 3 เมตร เมื่อติดคานบนแล้วจะพอดีหัวไม้ (ตามภาพแบบที่ 2) การติดคานเชื่อมระหว่างเสาแต่ละคู่ให้ใช้น๊อตเหล็กเป็นตัวยึด ไม่ควรยึดด้วยตะปูเพราะจะไม่แข็งแรงพอ ระยะห่างระหว่างเสาแต่ละคู่ประมาณ 10-20 เมตร ยิ่งปักเสาถี่จะยิ่งแข็งแรงทนทานแต่ก็สิ้นเปลืองมากบางแห่งจึงปักเสาเพียง 3 คู่ คือ หัวแปลง กลางแปลง และท้ายแปลง และระหว่างเสาแต่ละคู่ให้ค้างไม้รวกช่วยค้ำไว้เป็นระยะๆ ซึ่งก็สามารถใช้ได้และประหยัดดีแต่ต้องคอยเปลี่ยนค้างไม้รวกบ่อย
          
         การขึงลวด ลวดที่ใช้ทำค้าง ให้ใช้ลวดขนาดใหญ่พอสมควรคือ ลวดเบอร์ 11 ซึ่งลวดเบอร์ 11 หนัก 1 กิโลกรัม จะยาวประมาณ 18 เมตร ให้ขึงลวดพาดไปตามคานแต่ละคู่ตลอดความยาวของแปลง โดยใช้ลวด 4-6 เส้น เว้นระยะลวดให้ห่างเท่าๆ กัน ที่หัวแปลงและท้ายแปลงให้ใช้หลักไม้ขนาดใหญ่ตอกฝังลงไปในดินให้แน่น แล้วใช้ลวดโยงจากค้างมามัดไว้ที่หลักนี้เพื่อให้ลวดตึง หลังจากขึงลวดเสร็จแล้วให้ตรวจดูว่าลวดหย่อนตกท้องช้างหรือไม่ ถ้าหย่อนมากให้ใช้ไม้รวกขนาดใหญ่ปักเป็นคู่ตามแนวเสาค้าง แล้วใช้ไม้รวกอีกอันหนึ่งพาดขวางผูกด้านบนในลักษณะเดียวกับค้าง เพื่อช่วยรับน้ำหนักเป็นระยะๆ ไปตลอดทั้งแปลง เพราะเมื่อต้นองุ่นขึ้นค้างจนเต็มแล้วจะมีน้ำหนักมากจำเป็นต้องช่วยรองรับน้ำหนักหรือค้ำยันไว้ไม่ให้ค้างหย่อน





การห่อผล
          หลังจากตัดแต่งผลแล้ว ควรห่อผลเพื่อป้องกันแมลงเข้าทำลาย เช่น เพลี้ยแป้ง แมลงวันทอง อีกทั้งยังทำให้ผลองุ่นผิวสวยลูกโตกว่าปกติ และป้องกันความเสียหายจากเส้นผมของผู้ปฏิบัติงานไปโดนผลองุ่นอีกด้วย

          วัสดุที่ใช้ห่อผลองุ่นอาจทำเอง โดยใช้กระดาษ เช่น กระดาษกระสอบปูน ซึ่งทนต่อน้ำฝน ไม่ค่อยเปียกน้ำและเมื่อถูกน้ำจะแห้งเร็ว ทำให้ไม่ฉีกขาดง่าย แต่ถ้าใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ จะใช้ได้ไม่นานเพราะกระดาษหนังสือพิมพ์เมื่อโดนน้ำแล้วจะซับน้ำและเปื่อยยุ่ยได้ง่าย หรืออาจจะซื้อวัสดุห่อผลองุ่นแบบสำเร็จรูปก็ได้ ปัจจุบันจะมีบริษัทผลิตจำหน่ายหลายแบบ แต่ก่อนห่อผลจะต้องฉีดพ่นยากันเชื้อราก่อนหรือใช้วิธีการจุ่มช่อผล เหมือนกับการจุ่มฮอร์โมนยืดช่อดอกก็ได้ เพื่อป้องกันโรคผลเน่าที่เกิดจากเชื้อราเข้าทำลาย



การเก็บเกี่ยว
          การเก็บเกี่ยวผลองุ่นเป็นขั้นตอนที่สำคัญตอนหนึ่งเพราะองุ่นเป็นผลไม้บ่มไม่ได้ กล่าวคือ เมื่อเก็บมาจากต้นเป็นอย่างไรก็จะยังคงสภาพอยู่อย่างนั้น ไม่หวานขึ้น และไม่สุกมากขึ้นอีกแล้ว การเก็บผลองุ่นจึงต้องเก็บในช่วงที่ผลแก่เต็มที่ และไม่แก่เกินไป ผลองุ่นที่ยังไม่แก่เต็มที่จะมีรสเปรี้ยว รสฝาด คุณภาพของผลไม่ดี สีไม่สวย ส่วนผลองุ่นที่แก่เกินไปจะหวานจัดเกินไป เน่าเสียง่าย เก็บไว้ไม่ได้นาน ผลหลุดร่วงง่าย เป็นต้น

          ผลองุ่นที่แก่จัดสังเกตได้หลายอย่าง เช่น กานับอายุตั้งแต่ตัดแต่งจนถึงแก่จัดซึ่งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่พันธุ์ เช่น พันธุ์คาร์ดินัล ประมาณ 3 เดือน พันธุ์ไวท์มะละกา ประมาณ 3-3 เดือนครึ่ง อย่างไรก็ตามการกำหนดการแก่ของผลโดยการนับอายุตั้งแต่ตัดแต่งนี้มีข้อสังเกตบางประการ เช่น ผลองุ่นที่ใช้ฮอร์โมนจะสุกเร็วกว่าผลที่ไม่ใช้ฮอร์โมนหลายวัน และฤดูกาลก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เช่น ฤดูแล้ง ผลจะสุกเร็วกว่าฤดูฝน เป็นต้น จึงต้องใช้อย่างอื่นประกอบด้วย เช่น สีของผลที่แก่จัดจะเปลี่ยนจากสีเขียว (องุ่นทุกพันธุ์ตอนที่ผลยังเล็กอยู่จะเป็นสีเขียว) เป็นสีตามพันธุ์ เช่น พันธุ์ไวท์มะละกา เมื่อแก่จัดเป็นสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองใน ส่วนพันธุ์คาร์ดินัลเป็นสีม่วงดำหรือแดงอมดำ เป็นต้น นอกจากสีของผลแล้ว อาจดูจากความหวานของผลโดยการทดลองชิมดูหรือใช้เครื่องวัดเปอร์เซ็นต์ความหวาน (น้ำตาล) หรืออาจดูจากขั้วช่อผล ถ้าผลแก่จัด ขั้วของช่อผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล ดังนั้นการเก็บผลองุ่นที่แก่จัดควรอาศัยหลายๆ อย่างประกอบกันเพื่อให้แน่ใจและที่สำคัญอย่างยิ่ง คือควรงดการให้น้ำแก่ต้นองุ่นสักระยะหนึ่งก่อนการตัดผลเพื่อให้ผลองุ่นมีคุณภาพดี

         อย่างไรก็ตาม บางครั้งผู้ปลูกอาจจำเป็นต้องเก็บผลองุ่นที่จะแก่จัดด้วยเหตุหลายประการ เช่น ฝนตกขณะผลกำลังแก่จัดจะทำให้ผลแตกเสียหายมาก โดยเฉพาะพันธุ์คาร์ดินังล และเหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งคือ พ่อค้าจะเป็นคนกำหนดให้เก็บผลองุ่นตามเวลาที่เขาต้องการถึงแม้ว่าผลองุ่นจะยังไม่แก่จัดก็ตาม เพราะว่าองุ่นขาดตลาด เป็นต้น

          สำหรับองุ่นที่ปลูกอยู่ในแปลงเดียวกันจะแก่ไม่พร้อมกัน การเก็บจำเป็นต้องเก็บหลายครั้ง โดยเลือกเก็บเฉพาะช่อที่แก่เต็มที่ก่อน และทยอยเก็บไปเรื่อยๆ จนหมด การเก็บใช้กรรไกรตัดที่ขั้วผลแล้วบรรจุลงเข่ง หรือลังไม้ที่บุ หรือรองด้วยกระดาษห่อฝอยหรือใบตอง เพื่อป้องกันการชอกช้ำในขณะขนส่ง การขนส่งก็ควรทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้ชอกช้ำมาก และอย่านำเข่งที่บรรจุผลองุ่นวางซ้อนกัน


  




อ้างถึง การปลูกและการดูแลรักษา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99

การขยายพันธุ์


การขยายพันธุ์

องุ่นเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้ง่าย และรวดเร็ว สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น

1. การปักชำ เป็นวิธีการที่ง่ายและเหมาะสมวิธีหนึ่ง กิ่งที่ใช้ปักชำควรเป็นกิ่งที่มีอายุประมาณ 7-12 เดือน กิ่งที่แก่หรืออ่อนเกินไปจะออกรากไม่ค่อยดี ควรเลือกกิ่งขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป มีข้อถี่ๆ และมีตาโปนเห็นเด่นชัด เวลาทำการปักชำให้ตัดกิ่งองุ่นเป็นท่อนๆ ยาว 15-20 เซนติเมตร หรือมีข้อประมาณ 4-5 ข้อ ปักชำลงในกระบะทรายผสมขี้เถ้าแกลบ (อัตราส่วน 1:1) ถ้ามีฮอร์โมนช่วยในการเร่งราก ควรนำกิ่งปักชำมาจุ่มเสียก่อน จะช่วยให้ออกรากได้มากและแข็งแรงแล้วจึงปักชำในวัสดุที่เตรียมไว้ลึก 1 ใน 3 ของกิ่ง รดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอหลังจากการปักชำแล้วประมาณ 15-20 วัน กิ่งที่ปักชำจะเริ่มแตกรากและแตกใบอ่อน เมื่ออายุประมาณ 1 เดือนก็นำลงปลูกได้

นอกจากการปักชำในกระบะแล้ว ใต้ต้นองุ่นในแปลงปลูกมีร่มรำไรอยู่เสมอ สามารถปรับปรุงใช้เป็นแปลงปักชำกิ่งองุ่นได้ดีเช่นเดียวกัน



2. การตอน เป็นวิธีการที่ชาวสวนนิยมทำกันมากอีกวิธีหนึ่งเพราะสะดวก รวดเร็ว และตรงตามพันธุ์ กิ่งที่ใช้ตอนนั้นควรเป็นกิ่งที่ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป กิ่งที่เหมาะสมในการตอนควรมีอายุประมาณ 3 เดือน ควรเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ขนาดเท่าแท่งดินสอ ปราศจากโรคและแมลงในกิ่งเดียวกันสามารถตอนได้หลายช่วง โดยแต่ละช่วงมีประมาณ 3-4 ข้อ






อ้างถึง การขยายพันธุ์ :
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99

สรรพคุณทางยาและคุณค่าสารอาหาร


สรรพคุณทางยาและคุณค่าทางอาหาร



          องุ่นมีสารอาหารที่สำคัญคือน้ำตาลและสารอาหารจำพวกกรดอินทรีย์ เช่น น้ำตาลกลูโคส, น้ำตาลซูโคส, วิตามินซี, เหล็กและแคลเซียม องุ่นยังสามารถนำไปทำเป็นเหล้าองุ่นซึ่งเป็นเหล้าบำรุงใช้เป็นยา การรับประทานองุ่นเป็นประจำมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง, บำรุงหัวใจ, แก้กระหาย, ขับปัสสาวะและบำรุงกำลัง คนที่ร่างกายผอมแห้ง แก่ก่อนวัยและไม่มีเรี่ยวแรง หากรับประทานองุ่นเป็นประจำจะสามารถช่วยเสริมทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นได้ ส่วนเครือและรากมีฤทธิ์ในการขับลม, ขับปัสสาวะ, รักษาโรคไขข้ออักเสบ, ปวดเอ็นและปวดกระดูก อีกทั้งยังมีฤทธิ์ระงับประสาท, แก้ปวดและแก้อาเจียนอีกด้วย





อ้างถึง สรรพคุณทางยาและคุณค่าสารอาหาร:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99